วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

ระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์

               โลกาภิวัตน์  (Globalization )  คำที่พวกเราทุกคนคุ้นเคย แต่จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจความหมายจริง ๆ ของคำสั้น ๆ คำนี้ โลกาภิวัตน์  ซึ่งหมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกยุคใหม่ที่ตั้งอยู่บนฐานของเทคโนโลยี  อันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่เร่งเร็วขึ้นในทุกระดับของสังคมมนุษย์ แต่เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในแวดวงวิชาการและสื่อสารมวลชน ยังครอบคลุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐศาสตร์ วัฒนธรรมและเทคโนโลยีการสื่อสาร  รวมทั้งยังมีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อของคนจำนวนมากในยุคสมัยใหม่ ซึ่งจะเป็นลักษณะของปรากฏการณ์ที่หลอมรวมความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นในทุกมุมส่วนของโลก ให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและใกล้ชิดกันมากขึ้นตามแบบอย่างโลกตะวันตก

      จากความหมายของโลกาภิวัตน์ในมุมมองของผู้เขียน ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงประสานใน ด้านด้วยกันคือ
              
1.  กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานกันทางเศรษฐกิจระหว่างนานาประเทศ คือส่งผลให้มีการไหลเวียนของสินค้า บริการ เงินทุน ผู้คน และทรัพยากรที่ข้ามพ้นกำแพงรัฐชาติ การปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงกันจนเป็นอาณาบริเวณที่กว้างขวาง โดยโลกเศรษฐกิจจะไม่มีพรมแดนในลักษณะที่สอดคล้องกับการแบ่งเขตเกี่ยวข้องกับดินแดนหรืออาณาเขต  
2.  กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานทางแนวความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ อาทิ ความเป็นประชาธิปไตย (Democratization หรือ กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย) สิทธิมนุษยชน (Human right) การจัดการปกครองที่ดี (Good Governance) การค้าเสรี (Free Trade)ตลอดจน วัฒนธรรมความทันสมัยแบบตะวันตก เป็นต้น ในฐานะอุดมการณ์หลักแห่งยุคสมัยที่ถูกแผ่ขยายไปทั่วโลก ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปเรียกกันอย่างเต็มปากเต็มคำว่า ยุคโลกาภิวัตน์โดยคิดและอุดมการณ์เหล่านี้ มีผลอย่างมากต่อการจัดการปกครองทางการเมือง และสังคมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน
3.  กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานโลกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่สามารถรายงานข่าวสาร สาระจากพื้นที่หนึ่งของโลก ให้กระจายไปทั่วโลกได้ทันที่ ผ่าน CNN, BBC อินเตอร์เน็ตที่ถ่ายทอดความคิด ความเชื่อผ่านทางเว็บไซด์ต่าง ๆ ร่วมถึงการเผยแพร่วัฒนธรรมสื่อ เช่น ในรูปแบบภาพยนตร์ผ่าน Hollywood ในรูปแบบแฟชั่น ดนตรีเพลงผ่าน โทรทัศน์ช่อง MTV เป็นต้น 
กระแสโลกาภิวัตน์ถูกมองทั้งเป็นโลกของโอกาสและโลกของความเลวร้ายไม่ว่าจะมองอย่างไร กระแสโลกาภิวัตน์นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นกระบวนการที่เกิดแล้วจะไม่มีการหวนกลับกระแสโลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่เร่งทำให้เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจภายในประเทศหล่อหลอมเข้าเป็นหนึ่งเดียวไปสู่การเป็น หนึ่งโลก หนึ่งระบบการค้า  หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในกลุ่มสังคมนิยมปฏิเสธระบบทุนนิยมในทางหลักการ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ปฏิเสธมันในทางปฏิบัติ ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 ความแนบแน่นทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเริ่มมีมากขึ้น แต่รัฐบาลของแต่ละประเทศดังกล่าวก็ยังคงมีมาตรการควบคุมการเคลื่อนไหลของสินค้าและบริการ ทุนและการเคลื่อนย้ายของคน จวบจนช่วงต้นทศวรรษ 1990 ที่ประเทศกำลังพัฒนาเริ่มมีนโยบายเปิดกว้างกับโลกภายนอก พร้อมๆ กับการที่ประเทศในกลุ่มสังคมนิยมเริ่มละทิ้งระบบการวางแผนจากส่วนกลางหันมาใช้ระบบทุนนิยมตลาดมากขึ้น อีกทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ ลง กระทั่งปัจจุบันได้เข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ถือว่าเป็นการเปลี่ยนยุคของโลกาภิวัตน์ครั้งยิ่งใหญ่ อันเนื่องมาจากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน การเคลื่อนไหวของทุนอย่างเสรี ตลอดจนถึงเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเตอร์เน็ตก่อให้เกิด ปัจเจกภิวัตน์ (Globalization of People) ผู้คนในภูมิภาคต่าง ๆ มีโอกาสที่จะแข่งขัน พร้อมๆ กับร่วมมือกันทั้งใน Physical และ Virtual Spaces ซึ่งตรงนี้ทำให้เกิดพลวัตการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งรูปแบบของระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้

ความหมายของ ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ  หมายถึง การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดว่าผลิตอะไร ผลิตอย่างไร จำนวนมากน้อยเท่าใด เมื่อผลิตแล้วจะจำหน่ายแจกจ่ายให้แก่ใครจึงจะเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งการจัดหน่วยเศรษฐกิจแบบนี้ เป็นการจัดการหน้าที่ของหน่วยเศรษฐกิจนั้น ๆ  หน่วยเศรษฐกิจแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
                1.  หน่วยครัวเรือน หมายถึง สมาชิกทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกันมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของครอบครัวในด้านการผลิต การบริโภค และการบริการ
                2.  หน่วยธุรกิจ หมายถึง บริษัท ห้างร้าน โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตและกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค
                3.  หน่วยรัฐบาล หมายถึง หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ทำเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐบาลและประชาชน
 รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ
                ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในโลกจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครอง ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนแนวคิดในการบริหารเศรษฐกิจของผู้บริหารในแต่ละประเทศ ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกสามารถแบ่งออกเป็น 4ระบบใหญ่ ๆ ดังนี้
1.  ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม (Laissez-Faire or Capitalism)
ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่ภาคเอกชนใน การเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เศรษฐทรัพย์ต่าง ๆ ที่ตนหามาได้ มีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการเลือกอุปโภคบริโภคสินค้า และบริการต่าง ๆ แต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย กล่าวคือ การดำเนินการใด ๆ จะต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของบุคคลอื่น ใช้ระบบของการแข่งขันโดยมีราคาและระบบตลาดเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากร โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะมีหน้าที่เพียงการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและการป้องกันประเทศ
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.  เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามที่ตนถนัด
2.  กำไรและการมีระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ เอกชนจะทำงานอย่างเต็มที่ เนื่องจากผลิตได้มากน้อยเท่าไรก็จะได้รับผล ตอบแทนหรือรายได้ไปเท่านั้น ภายใต้ระบบเศรษฐกิจระบบนี้จะมีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์หรือเทคนิคใหม่ ๆ อยู่เสมอ ทำให้เกิดการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.  ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเนื่องจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐาน ทำให้ความสามารถในการหารายได้ไม่เท่ากัน ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่าในทางเศรษฐกิจ
2.  ในหลาย ๆ กรณี ราคาหรือกลไกตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น สินค้าและบริการที่มีลักษณะของการผูกขาดโดยธรรมชาติหรือสินค้าและบริการสาธารณะ ซึ่งได้แก่ บริการด้านสาธารณูปโภค (น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ฯลฯ) โครงสร้างพื้นฐาน (ถนน เขื่อน สะพาน ฯลฯ) จะเห็นได้ว่าสินค้าและบริการดังกล่าวส่วนใหญ่จะต้องใช้เงินลงทุนมาก เทคโนโลยีที่ทันสมัย เสี่ยงกับภาวะการขาดทุน เนื่องจากมีระยะการคืนทุนนาน ไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ทำให้เอกชนไม่ค่อยกล้าลงทุนที่จะผลิต ส่งผลให้รัฐบาลต้องเข้ามาดำเนินการแทน อันเนื่องจากสินค้าและบริการเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ประชาชนต้องการ จะเห็นได้ว่ากรณีดังกล่าวราคาไม่สามารถเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรได้
3.  การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่าง สิ้นเปลือง เช่น ในบางช่วงที่มีการแข่งขันกันสร้างศูนย์การค้าเพราะคิดว่าเป็นกิจการที่ให้ผลตอบแทนหรือกำไรดี ศูนย์การค้าเหล่านี้เมื่อสร้างขึ้นมามากเกินไปก็อาจไม่มีผู้ซื้อมากพอ ทำให้ประสบกับการขาดทุน กิจการต้องล้มเลิก เสียทุนที่ใช้ไปในกิจการนั้น เป็นการสูญเสียทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปอย่างเปล่าประโยชน์และไม่คุ้มค่า เป็นต้น

2.  ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ ปัจจัยการผลิตได้ รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ หน่วยธุรกิจและครัวเรือน จะผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจว่า ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ควรจะนำมาผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร การตัดสินใจ มักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับจากส่วนกลาง (central planning) โดยคำนึงถึงสวัสดิการ ของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยสรุประบบเศรษฐกิจแบบนี้จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่าง ไว้ที่ส่วนกลาง รัฐบาลจะเป็นผู้วางแผนแต่เพียงผู้เดียว เอกชนมีหน้าที่เพียงแต่ทำตามคำสั่งของทางการ เท่านั้น
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
จุดเด่นของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ก็คือ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและ บริโภคตามคำสั่งของรัฐ ผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาจะถูกนำส่งเข้าส่วนกลาง และรัฐจะเป็นผู้จัดสรรหรือแบ่งปัน สินค้าและบริการดังกล่าวให้ประชาชนแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบ
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.  ประชาชนไม่มีเสรีภาพที่จะผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจ ถูกบังคับหรือสั่งการจากรัฐ
2.  สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงจูงใจ เพราะไม่ว่าจะผลิตสินค้าได้ มากน้อยเพียงใด คุณภาพเป็นอย่างไร ผู้บริโภคก็ไม่มีทางเลือกจะต้องบริโภคตามการปันส่วนที่รัฐจัดให้
3.  การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะมีข่าวสารสมบูรณ์ในทุก ๆ เรื่อง เช่น รัฐไม่รู้ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนทำให้ผลิต สินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการ ส่งผลให้มีสินค้าเหลือ (ไม่เป็นที่ต้องการ) จะเห็นได้ว่าลักษณะดังกล่าว ก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรของประเทศไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นต้น

3.  ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะใกล้เคียงกับระบบเศรษฐกิจ แบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมรัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรการผลิตพื้นฐาน ไว้เกือบทั้งหมด และเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจ กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐาน กิจการหลักที่มี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ เช่น ธุรกิจธนาคาร อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ป่าไม้ น้ำมัน กิจการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการต่าง ๆ ฯลฯ รัฐจะเป็นผู้เข้ามาดำเนินการเอง อย่างไรก็ตาม รัฐยังให้เสรีภาพแก่ประชาชนบ้างพอสมควร เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน เช่น สามารถทำธุรกิจค้าขายขนาดย่อมระหว่างท้องถิ่นใกล้เคียง สามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน เพื่อการยังชีพ โดยสรุป ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่อาศัยกลไกรัฐเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ แต่ทว่ากลไกราคาพอจะมีบทบาทอยู่บ้างในระบบเศรษฐกิจนี้
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีส่วนช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทาง ฐานะและรายได้ของบุคคลเช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ นอกจากนั้น ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนมีเสรีภาพและมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินบ้างพอสมควร
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เนื่องจากปัจจัยการผลิตพื้นฐานอยู่ในการควบคุมของ รัฐบาลทำให้ขาดความคล่องตัว การผลิตถูกจำกัดเพราะต้องผลิตตามที่รัฐกำหนด โอกาสที่จะขยายการผลิตหรือพัฒนาคุณภาพการผลิตเป็นไปค่อนข้างลำบาก ทำให้การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ในลักษณะเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

4.  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)
ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน ในส่วนที่เป็นแบบทุนนิยม คือ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางอย่าง มีเสรีภาพในการเลือกผลิตหรือบริโภค ใช้ระบบของการแข่งขัน กลไกราคาเข้ามาทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ส่วนที่เป็นแบบสังคมนิยม คือ รัฐบาลเข้ามาควบคุมหรือเข้ามาดำเนินกิจการที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น กิจการสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมหลัก และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องมีการลงทุนมากเพราะหาเอกชนลงทุนได้ยาก เนื่องจากเป็นกิจการที่ต้อง เสี่ยงกับการขาดทุนหรือไม่คุ้มกับการลงทุน แต่กิจการเหล่านี้จำเป็นต้องมีเพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีพ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา การขนส่ง และคมนาคม เหตุที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินการในกิจการดังกล่าวก็เพื่อขจัดปัญหาในเรื่องการผูกขาดหรือเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นถ้าปล่อยให้เอกชนทำการแข่งขัน โดยสรุปแล้วระบบเศรษฐกิจแบบผสมจึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้ทั้งระบบกลไกราคา หรือระบบตลาดควบคู่ไปกับระบบกลไกรัฐในการจัดสรรทรัพยากร
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว กล่าวคือ มีการใช้กลไกรัฐร่วมกับกลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากรของระบบ กิจการใดที่กลไกราคาสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐก็จะปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ (ใช้ระบบของการแข่งขัน) แต่ถ้ากิจการใดที่กลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐก็จะเข้ามาดำเนินการแทน จะเห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสาน กล่าวคือ รวมข้อดีของทั้งระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.  การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอาจก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะ และรายได้เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
2.  การที่รัฐสามารถเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิดปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำให้เกิดการบิดเบือน การใช้ทรัพยากรของระบบ เศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
3.  ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมือง และนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและแปรเปลี่ยนได้ง่าย อาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการหยุดชะงัก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง
               
                โลกาภิวัตน์  (Globalization )  ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศหรือเป็นการค้าภายในประเทศ  ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การครอบงำของ Globalization  จึงต้องทำความเข้าใจว่าโลกาภิวัตน์คืออะไร และบทบาทตัวตนที่แท้จริง ซึ่งฝังอยู่ภายในนั้นจะเป็นอย่างไร ผู้เขียนมีรายละเอียดแบบย่อ ๆ ที่ระบบเศรษฐกิจจะเกี่ยวข้องในกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนี้

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์
                1.  ทุน Capital เศรษฐกิจโลกจะต้องเป็นไปตามลัทธิทุนนิยม (Capitalism) ภายใต้การแข่งขันในลักษณะเสรีนิยม (Liberalism) ซึ่งเป็นลักษณะเศรษฐกิจของโลกตะวันตกที่มีเนื้อหาเน้นการสะสมทุนและการค้าเสรี โดยต่างก็จะให้มีการเปิดการค้าระหว่างประเทศให้เป็นการค้าที่ไร้พรมแดนแต่ภายใต้การค้าเสรีนี้ ความได้เปรียบของบริษัทข้ามชาติ ก็จะมีมากกว่าจึงเป็นความเสรีที่ไม่เท่าเทียมกัน ทุนจะมีการเคลื่อนย้ายไปยังประเทศต่าง ๆ ของโลกที่ให้เงื่อนไขและผลประโยชน์ที่ได้กำไรสูงสุด
                2.  การครอบงำผ่านทางข้อมูล-ข่าวสาร (Dominant) การปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการเชื่อมโยงสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว โลกถูกเชื่อมด้วยข้อมูลข่าวสารและมักเป็นข้อมูลข่าวสารฝ่ายเดียวจากโลกตะวันตก หรือจากประเทศซึ่งมีอำนาจเศรษฐกิจและการทหารที่เหนือกว่า โดยการครอบงำและสร้างกระแสข่าวตามที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเมืองและเศรษฐกิจของตะวันตก เป็นการครอบงำทางข่าวสาร และวัฒนธรรมซึ่งมีผลต่อความเชื่อของมนุษยชาติในการที่จะต้องบริโภคข่าวสาร การบริโภคสินค้า ,บริการ และวัฒนธรรมของตะวันตกนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
                3.  ค่านิยม (Value) โลกาภิวัตน์ ได้สร้างค่านิยมผ่านทางข้อมูลข่าวสาร โดยแบ่งออกเป็น ลักษณะ 
ü ค่านิยมทางการเมือง ทุกประเทศในโลกต้องเป็นแนวประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งประเทศต่าง ๆ หากจะต้องมีรูปแบบการเมืองการปกครองในแบบเดียวกัน มิฉะนั้นก็จะถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ หรือใช้กำลังทหารเข้าไปปลดปล่อยให้เป็นประชาธิปไตย โดยไม่สนใจต่อความพร้อมหรือวิถีชีวิตของคนในประเทศเหล่านั้น ซึ่งการเมืองในระบบประชาธิปไตย เมื่อถูกผ่านการครอบงำผ่านทางข้อมูลข่าวสารจากโลกตะวันตก ก็จะทำให้ประชาชนมีค่านิยมที่จะเลือกผู้นำที่มีแนวความคิดแบบการค้าเสรีหรือเป็นนายทุนเศรษฐกิจแบบตะวันตกไปเป็นรัฐบาล ซึ่งก็จะมีการแก้ไขกฎเกณฑ์ กฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทข้ามชาติสามารถเข้าไปแข่งขันกับธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งมีความอ่อนแอกว่า ซึ่งจะมีผลต่อจะต้องมีการพึ่งพาโลกตะวันตก
ü ค่านิยมทางเศรษฐกิจ โลกจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Labour) โดยถือหลักการว่าที่ไหนถูกก็ผลิตหรือซื้อที่นั่น โดยต่างฝ่ายจะใช้มาตรการทางภาษีให้มีน้อยที่สุด โดยโลกตะวันตกก็จะมีการปกป้องธุรกิจที่ไม่สามารถแข่งขันกันได้ในรูปแบบของการกีดกันทางการค้า ในแบบที่เรียกว่า NTB (Non Tariff Barrier) การค้าของโลกจะตกอยู่ภายใต้กติกา WTO (World Trade Organization) ที่โลกตะวันตกไม่กี่ประเทศเป็นผู้บงการ และข้อตกลงในลักษณะที่เป็นทวิภาคี ได้แก่ ที่มาในรูปแบบของ FTA ซึ่งหาก WTO ไม่สามารถเอื้อประโยชน์ก็จะมีการทำข้อตกลงความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่น ASEAN , NAFTA , APEC เป็นต้น ต้องเข้าใจว่าการค้าเสรีของ Globalization นั้นเป็นความเสรีบนความไม่เท่าเทียมกัน จึงไม่ใช่ความยุติธรรมทางการค้า
ü ค่านิยมทางสังคม โดยการครอบงำทางสังคมวัฒนธรรม โดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร ทำให้การค้าของโลกจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน (Human Right) การบริโภคนิยม (Consumerism) การนิยมวัตถุ (Materialism) รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งจะอนุรักษ์เฉพาะในสิ่งที่ประเทศด้อยพัฒนาไม่พร้อม แต่โลกตะวันตกพร้อมค่านิยมการปกป้องทางการค้า(Protectinism) การค้าโลกาภิวัตน์ จะทำมาพร้อมกับการปกป้องทางการค้าในรูปแบบของลิขสิทธิ์ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของลิขสิทธิ์ก็จะมาจากโลกตะวันตก ซึ่งจะใช้ลิขสิทธิเป็นเครื่องมือในการปกป้องสินค้าและบริการ นอกเหนือจากนี้การใช้มาตรการทางด้านการเงิน ผ่านกองทุนต่าง ๆ เช่น IMF , ADB Bank

ในปัจจุบันนี้เศรษฐกิจโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อย่างเต็มที่โดยจะเห็นได้จากการที่มีการเพิ่มขึ้นของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก จากการที่มีการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศให้ลดน้อยลงไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรหรือการยกเลิกมาตรการโควตาการนำเข้าต่าง ๆ ตามกฎขององค์การการค้าโลก ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ดูแลเรื่องการจัดการการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างเสรี  และให้ความเท่าเทียมกันแก่ประเทศสมาชิกทุกประเทศ  อีกทั้งเทคโนโลยีในการขนส่งได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะทางบก ทางอากาศ หรือทางน้ำ ทำให้สามรถประหยัดเวลาและต้นทุนทั้งในด้านการขนส่งสินค้าและทางด้านการเดินทางระหว่างประเทศ การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ ข้ามพรมแดนประเทศได้อย่างสะดวกใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที ทำให้การเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ใหม่ ๆ สามารถทำได้ง่ายมากขึ้นกว่าในอดีต  ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร โดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ทในปัจจุบัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในยุคโลกาภิวัฒน์นี้โลกเสมือนได้ย่อขนาดของตัวเองให้เล็กลงจากการที่มนุษย์สามารถเดินทางหรือติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูล และทำการค้าระหว่างกันจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้อย่างง่าย การก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒนย่อมมีผลกระทบที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนี้

ผลกระทบที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์
                1.  ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของประชากร  (The New Demographics) ประชากรของโลกจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตเมืองมีแนวโน้มประชากรโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้างและพฤติกรรม โดยประชากรสูงอายุ (มากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประชากรวัยหนุ่มสาว (Young Generation) จะมีสัดส่วนลดลง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราการเกิดของประเทศพัฒนาแล้วตํ่าลง ประกอบกับคนจะมีสุขภาพดีและอายุยืนมากขึ้น นอกจากนั้น ค่านิยม และพฤติกรรมของประชากรจะเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากจนยากที่จะคาดเดา การเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากรทั้งหมดดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ คือ
                          1.1 การสิ้นสุดของตลาดเดียว (The End of Single Market) เดิมตลาดของประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีลักษณะ Homogeneous โดยมีกลุ่มวัยรุ่นเป็นผู้ครอบครองตลาดส่วนใหญ่ แต่ต่อไปในอนาคต ตลาดจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน คือ
                                (1) ตลาดของผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำ วันทดแทนความเสื่อมประสิทธิภาพของร่างกาย การให้บริการเพื่อความบันเทิง เช่น การท่องเที่ยว เป็นต้น
                                (2) ตลาดของกลุ่มวัยรุ่น ผลิตภัณฑ์และบริการส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อความสะดวกและรวดเร็วในการใช้ชีวิตประจำ วัน ความฟุ่มเฟือยในรูปแบบต่าง ๆ แม้กระทั่งการศึกษาซึ่งจะมีรูปแบบที่เป็น New Luxury Youth Market โดยเฉพาะในตลาดศึกษาต่อเนื่องของผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษาดีอยู่แล้ว ขณะนี้กำ ลังเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด เนื่องจาก ครอบครัวที่มีลูกคนเดียวมักจะลงทุนค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูกสูงมาก ทำ ให้ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาต่อหัวเท่ากับค่าใช้จ่ายการศึกษาในอดีตของเด็ก 4-5 คนรวมกัน ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น Nanotechnology และ Material Technology เป็นต้น รวมทั้ง ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า “Culture Product” ที่มีความเหมือนกันในวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ การบริโภค และผลิตภัณฑ์ เช่น สินค้าจำ พวก Franchise ต่าง ๆ สัญญาณของปรากฎการณ์ดังกล่าวปรากฏให้เห็นแล้วในธุรกิจบริการด้านการเงิน (Financial Services) ที่ขณะนี้การค้าหุ้นในตลาดสินค้าประเภท High Technology ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นของคนอายุน้อยกว่า 45 ปี ส่วนการลงทุนในตลาดกองทุนอื่น (Mutual Fund) ที่เน้นในเรื่องของการลงทุนเพื่อการออม ลูกค้าจะเป็นผู้สูงอายุ
                         1.2 ภาระงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกับประเทศกำลังพัฒนาซึ่งโครงสร้างของประชากรวัยสูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาก จะมีผลต่อค่าใช้จ่ายของรัฐบาลที่จะเพิ่มขึ้นจากเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ เบี้ยบำนาญ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาที่แนวโน้มดังกล่าวก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกันแต่ในอัตราที่ตํ่ากว่า
                         1.3 การเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว(Mobility of Labour) โดยเฉพาะแรงงานฝีมือหรือแรงงานที่มีความรู้ (Skilled Labor/Knowledge Labor)  ซึ่งเป็นที่ต้องการและมีบทบาทมากในระบบเศรษฐกิจ ในทางตรงกันข้าม จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะตํ่าไปยังประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดจำนวนแรงงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวซํ้าเติมให้เกิดความยุ่งเหยิงของโครงสร้างการทำ งานในสังคมที่กำลังพัฒนา โดยการสร้างให้เกิดการจ้างงานที่ขาดเสถียรภาพ งานที่ต้องการความชำนาญหลายอย่างอาจถูกลดระดับลง หรือถูกทดแทนด้วยแรงงานที่ตํ่ากว่าระดับจริง นอกจากนั้น จะก่อให้เกิดปัญหาเมืองใหญ่ (Mega City) ที่ต้องมีการวางแผนการพัฒนาเมืองที่ป้องกันและจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางโครงสร้างพื้นฐาน และทางด้านสิ่งแวดล้อม
                   1.4  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงในค่านิยม และพฤติกรรมของประชากรทำให้ตลาดเปลี่ยนแปลงเร็ว จำเป็นที่ผู้ผลิตจะต้องมีความพร้อมรับกับการปรับเปลี่ยนโดยต้องพร้อมในการที่จะคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ(Innovation) และใช้ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมของประสบการณ์และภูมิปัญญา มารองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

                         2.  การเหลี่อมล้ำของความรู้ (Knowledge Divide) จะเกิดทั้งในระดับระหว่างประเทศและในระดับประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่เท่าเทียมกันของความสามารถและความจริงจังในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา (Education) ข้อมูลข่าวสาร (Information)และการวิจัย (Research) ของประเทศหนึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ และการพัฒนาองค์ความรู้ของคนในประเทศที่มีความแตกต่างกัน ทำให้ประเทศที่มีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องจะเกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในสังคมเศรษฐกิจการเมืองโลกที่อาศัยองค์ความรู้ในการพัฒนามากกว่าปัจจัยทางทรัพยากร (Comparative Advantage) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ในลักษณะคือ
                                1. การศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในระบบและนอกระบบขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) ซึ่งความรู้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกส่วนของภาคการผลิต เพื่อลดต้นทุน เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และเพื่อลดการพึ่งพิงแรงงานที่ขาดแคลน จำ เป็นที่ประชากรในทุกเพศ ทุกวัย ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวโดยเฉพาะประชากรในวัยทำ งานที่ต้องมีความพร้อมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีความต้องการทักษะและฝีมือ
                                2.   การวิจัยและพัฒนาจะมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพที่จะต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ ทันสมัยและกระจายอย่างทั่วถึง

                3.  กำลังการผลิตมากเกิน (Overcapacity) ในสินค้าและบริการ ซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ การเข้ามาใหม่ของประเทศกำ ลังพัฒนา เช่น จีน และเม็กซิโก เป็นต้น การหดตัวของความต้องการ (Demand Contract) การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการเพิ่มขึ้นในความรู้ ความสามารถและทักษะฝีมือแรงงาน ก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ 2 ประการคือ
                                1.  ภาวะ “Global Deflation” ราคาสินค้าส่วนใหญ่ทั่วโลกมีราคาถูกลง โดยเฉพาะสินค้าที่สามารถผลิตได้ในประเทศกำ ลังพัฒนาที่มีค่าแรงงานถูก เช่น ประเทศจีน เป็นต้น การแข่งขันจึงอยู่ในลักษณะของการลดต้นทุนการผลิต โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือการเป็นผู้นำ ในการคิดค้นประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
                                2.  ภาวะ “Growth with Unemployment” อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกจะสูงขึ้น เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1960 และ 1970 อันเนื่องจากแรงกดดันทางการเมือง เพื่อให้มีมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น การมีนโยบายเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การเพิ่มขึ้นในการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ การกระจายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) และภาคเอกชนมีพลวัตร(Dynamic) มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวกลับก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งใน 20 ปีข้างหน้า มีการคาดการณ์ไว้ว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า ในขณะที่การจ้างงานในอุตสาหกรรมจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10-20 ของกำ ลังแรงงานรวม ทั้งนี้ เป็นผลจากการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งการลดบทบาทของภาคอุตสาหกรรมในฐานะผู้สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศจะนำ ไปสู่การรวมพลังของกลุ่มคนมากขึ้น เพื่อให้รัฐเข้ามาปกป้องทางการค้าในรูปแบบใหม่ (The New Protectionism) เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับสินค้าเกษตร แต่ภาวะการว่างงานดังกล่าวจะบรรเทาได้ในระดับหนึ่งจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและอาชีพทางด้านบริการที่มีแนวโน้มเพิ่มความสำคัญขึ้นมากในอนาคต

                4.  มีการพึ่งพาและร่วมมือร่วมใจระหว่างกันมากขึ้น (More Interdependent) ในทุกระดับ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ได้แก่ การขยายตัวขององค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองระดับโลกขนาดใหญ่ เช่น WTO และ IMF เป็นต้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบของขั้วอำนาจจาก Bipolar มาเป็น Multipolar ปัญหาผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ(Terrorism) ซึ่งทำ ให้ประเทศต่าง ๆ ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดมากขึ้น อันนำ ไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการเจรจาต่อรองและการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในระดับทวิภาคี (Bi-lateral) ในระดับภูมิภาค (Regional) และระดับโลกเพื่อสร้างความสมดุลย์ของอำนาจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและภูมิภาคทั้งที่มีอยู่เดิมและที่เกิดขึ้นใหม่ในระดับประเทศ ถึงแม้รัฐจะเข้าไปมีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น แต่ภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำ ไรจะมีบทบาทมากขึ้นทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน จึงต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยแนวโน้มในอนาคตพลเมืองจะยังคงใช้การเมืองนำการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการเมืองจะมีการปรับตัวเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการปรับโครงสร้างของรัฐบาลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้มีความสามารถในการสร้างความร่วมมือ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นในการเคลื่อนไหวของข้อมูล เทคโนโลยีสมัยใหม่ การอพยพ และอิทธิพลของภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

สรุป
                โลกาภิวัตน์ได้เชื่อมโยงหลอมรวมความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของโลกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว และเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีส่วนทำลายพรมแดนระหว่างรัฐที่เป็นอุปสรรคขว้างกั้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างรวดเร็ว โดยมีผลต่อการเศรษฐกิจของโลก ซึ่งระบบเศรษฐกิจในความหมายของผู้เขียน ประกอบด้วย กลุ่มหรือหน่วยเศรษฐกิจ คือ ครัวเรือน ธุรกิจหรือบริษัทและองค์กรรัฐบาล โดยหน่วยต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กัน เราเรียกว่า การหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ การรวมตัวของหน่วยเศรษฐกิจ จะกลายเป็นสถาบันเศรษฐกิจหรือเราเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม  ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจแบบ  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม  ซึ่งในระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์  ได้แก่ ทุน Capital , การครอบงำผ่านทางข้อมูล-ข่าวสาร(Dominant)  และค่านิยม (Value) โลกาภิวัฒน์ ได้สร้างค่านิยมผ่านทางข้อมูลข่าวสาร โดยแบ่งออกเป็น ลักษณะ คือ ค่านิยมทางการเมือง, ค่านิยมทางเศรษฐกิจ  และค่านิยมทางสังคม  ดังนั้นผลกระทบที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ ได้แก่  ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของประชากร  (The New Demographics) ประชากรของโลกจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตเมืองมีแนวโน้มประชากรโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้างและพฤติกรรม โดยประชากรสูงอายุ (มากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประชากรวัยหนุ่มสาว (Young Generation) จะมีสัดส่วนลดลง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว  การเหลี่อมล้ำของความรู้(Knowledge Divide) จะเกิดทั้งในระดับระหว่างประเทศและในระดับประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่เท่าเทียมกันของความสามารถและความจริงจังในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา (Education) ข้อมูลข่าวสาร (Information) และการวิจัย (Research) ของประเทศหนึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ และการพัฒนาองค์ความรู้ของคนในประเทศที่มีความแตกต่างกัน ทำการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในระบบและนอกระบบขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) การวิจัยและพัฒนาจะมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพที่จะต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ ทันสมัยและกระจายอย่างทั่วถึง  กำลังการผลิตมากเกิน(Overcapacity) ในสินค้าและบริการ ซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ การเข้ามาใหม่ของประเทศกำ ลังพัฒนา เช่น จีน และเม็กซิโก เป็นต้น  มีการพึ่งพาและร่วมมือร่วมใจระหว่างกันมากขึ้น (More Interdependent) ในทุกระดับ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ได้แก่ การขยายตัวขององค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองระดับโลกขนาดใหญ่ เช่น WTO และ IMF เป็นต้น ในการสร้างความร่วมมือ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นในการเคลื่อนไหวของข้อมูล เทคโนโลยีสมัยใหม่ การอพยพ และอิทธิพลของภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร 

เอกสารอ้างอิง
คลังปัญญา.โลกาภิวัตน์.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา.http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php.(14 เมษายน 2554).
ห้องร้อยบุปผา.โลกาภิวัตน์ครอบงำสังคมมนุษย์.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา.http://www.baanjomyut.com/cgi-bin/writer3/show.pl?forum=1&topic=0261.(14เมษายน 2554).
วังลัดาวัลย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ชุดที่ 2ตอนที่ โลกาภิวัตน์ คืออะไร.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา.http://www.libsusdev.org/index.php?option=com_docman&task=doc_open&gid=185.(14 เมษายน 2554).
ความเป็นมาของระบบเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ . [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา.planning.excise.go.th/knowledge/global.doc. .(14 เมษายน 2554).
เศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา.http://www.nidambe11.net/ekonomiz/.../article2001feb10p1.htm. .(14 เมษายน2554).
ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร.เศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา. http://www.cicot.or.th/2011/main/content.php?page=news&category=26&id=77. .(14 เมษายน 2554).
ศ.ดร.สุรชัย  ศิริไกร.2552.ระบบสังคมเศรษฐกิจโลก.วิทยาลัยสื่อสารการเมือง สาขาสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ศาลในประเทศไทย


 

          ในประเทศไทย ศาลเป็นองค์กรซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี โดยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ

          การตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือคดีที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้น จะกระทำมิได้ โดยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ศาลมี 4 ประเภท คือ
  1. ศาลรัฐธรรมนูญ
  2. ศาลยุติธรรม
  3. ศาลปกครอง
  4. ศาลทหาร

ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitution Court)
          เป็นศาลสูงและเป็นองค์กรอิสระ ซึ่งวินิจฉัยข้อกฎหมายในกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่หลักคือพิจารณาวินิจฉัยว่ามีกฎหมายใดขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตัวอย่างเช่น วินิจฉัยว่ากฎหมายนั้นๆ ขัดแย้งกับหลักพื้นฐานแห่งสิทธิและเสรีภาพหรือไม่ เป็นต้น
          โดยศาลรัฐธรรมนูญนี้ มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
          การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม

ศาลยุติธรรม (The Court of Justice)
          เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
          ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น
  • ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
  • ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
  • ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว
ศาลชั้นต้น
ศาลแพ่ง
เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ศาลแพ่งมีเขตตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง และคดีนั้นเกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่ง ศาลแพ่งอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอำนาจ
ศาลอาญา
เป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลจังหวัดมีนบุรี แต่บรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลอาญานั้นจะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอาญาที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะโอนมาตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
ศาลจังหวัด
เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจำในแต่ละจังหวัดหรือในบางอำเภอ มีเขตตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนั้นได้กำหนดไว้ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ศาลจังหวัดนั้นต้องมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ
ศาลภาษีอากรกลาง
เป็นศาลที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีภาษีอากร ซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งทั่วไป เพราะเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐอันเนื่องมาจากการเก็บภาษีอากร การอุทธรณ์ในคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลภาษีอากรให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา ไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินคดี
พจนานุกรม ไทย-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ศาลภาษีอากร ความหมาย (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร.
ศาลแรงงานกลาง
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เ ปิดทำการเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2523 โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศาลชำนัญพิเศษ พิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน ซึ่งมีความแตกต่างจากอรรถคดีทั่วไป  การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงาน จะใช้วิธีไกล่เกลี่ย และการระงับข้อพิพาทเป็นหลัก แต่หากคู่กรณี (นายจ้าง-ลูกจ้าง) ไม่สามารถตกลงกันได้ ศาลก็จะพิจารณาตัดสินชี้ขาดตามบัญญัติ แห่งกฎหมาย โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อย ต่อไป
ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน สิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งได้แก่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม เป็นต้น รวมทั้งกรณีละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
การพิจารณาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษา 3 ฝ่าย คือ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง จำนวนฝ่ายละเท่าๆกัน ร่วมเป็นองค์คณะการพิจารณาพิพากษาคดี

ศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจ กับมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นในเขตท้องที่ที่มิได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค เว้นแต่คดีที่อยู่นอกเขตศาลอุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่อุทธรณ์เช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ทั้งนี้ โดยมีประวัติความเป็นมาคือ ก่อน ร.ศ. 110 ศาลอุทธรณ์มหาดไทยเป็นศาลหนึ่งในจำนวนศาลซึ่งตั้งอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ จนกระทั้ง ร.ศ. 110 ได้มีการประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น จึงได้รวมศาลทั้งหมดให้สังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยให้ยกศาลฎีกาไปเป็นศาลอุทธรณ์คดีหลวง และให้ศาลอุทธรณ์มหาดไทยเป็นศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์ ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดการในสนามสถิตยุติธรรม ร.ศ. 111 ให้ยกเลิกศาลอุทธรณ์คดีหลวง คงเหลือศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์เพียงศาลเดียว ซึ่งนิยมเรียกว่า ศาลอุทธรณ์ ใน ร.ศ. 115 ได้มีการตราพระราชบัญญัติตั้งข้าหลวงพิเศษขึ้นและมีประกาศให้คู่ความอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลหัวเมืองต่อข้าหลวงพิเศษแทนศาลอุทธรณ์ในกรุงเทพ ทำให้ศาลอุทธรณ์กลับมามี 2 ศาลอีก จนถึงปี 2469 จึงมีประกาศให้รวมศาลทั้งสองศาลเป็นศาลเดียวกัน เรียกว่า ศาลอุทธรณ์กรุงเทพฯ และเมื่อตราพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมพุทธศักราช 2477 ซึ่งบัญญัติให้ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาจึงใช้ชื่อว่าศาลอุทธรณ์มาจนถึงปัจจุบัน

ศาลฎีกา
ศาลฎีกา คือ ศาลสูงสุดซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา นอกจากนี้ ยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น
องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด
ศาลฎีกามีแผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น 10 แผนก เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัยความชำนาญพิเศษ มีผู้พิพากษาศาลฎีกาประจำแผนก ๆ ละ ประมาณ 10 คน ได้แก่
  • แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
  • แผนกคดีแรงงาน
  • แผนกคดีภาษีอากร
  • แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
  • แผนกคดีล้มละลาย
  • แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจ
  • แผนกคดีสิ่งแวดล้อม
  • แผนกคดีปกครอง
  • แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็นแผนกที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย
องค์คณะผู้พิพากษาในแผนกนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 9 คน ที่คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ขึ้นนั่งพิจารณาคดีเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น แต่การพิจารณาคดีจะเป็นระบบไต่สวน ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไป ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ตามวิธีพิจารณาคดีที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542

ศาลปกครอง (Administrative Court)
          คือศาลที่มีหน้าที่พิจารณาคดีปกครองระหว่างรัฐกับราษฎร หรือระหว่างองค์กรของรัฐ ด้วยกันเอง ทั้งนี้ เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ แยกต่างหากจากศาลยุติธรรม

          ศาลปกครองเป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ศาลปกครองแบ่งออกเป็น "ศาลปกครองชั้นต้น" และ "ศาลปกครองสูงสุด"


ศาลปกครองชั้นต้น

  • ศาลปกครองกลาง มีอำนาจตัดสินคดีในเขตกรุงเทพมหานคร และอีก 7 จังหวัดใกล้เคียง หรือคดีที่ยื่นฟ้องที่ศาลปกครองกลาง
  • ศาลปกครองในภูมิภาค ปัจจุบันมี 7 แห่ง ที่จังหวัดเชียงใหม่ สงขลา นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลก ระยอง และนครศรีธรรมราช
ศาลปกครองสูงสุด มีอำนาจตัดสินคดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรง หรือคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

          การจัดตั้งศาลปกครอง พิจารณาคดีระหว่างรัฐกับราษฎร มีเหตุผลสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
          ประการแรก รัฐในปัจจุบันมีบทบาทและความรับผิดชอบในชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า อำนาจของรัฐมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย การกระทบกระทั่งระหว่างรัฐกับราษฎร ก็ต้องมากขึ้น ศาลยุติธรรมคงจะไม่สามารถรับพิจารณาคดีปกครองได้ทั้งหมด และอำนวยผลดี
          ประการที่สอง การพิพาทระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นการพิพาทที่มีลักษณะพิเศษ แตกต่างไปจากการพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน คือเป็นการพิพาทที่คู่กรณี ไม่อยู่ในฐานะเสมอภาคกัน เพราะฉะนั้น การใช้หลักกฎหมายธรรมดาในคดีปกครองนั้น คงจะไม่ถูกต้องนัก หรือศาลไม่สามารถให้ความเป็นธรรมแก่ราษฎรได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ มองในแง่ความยุติธรรมที่ราษฎรจะพึงได้รับ เนื่องจากรัฐ มีอำนาจเหนือกว่าราษฎร โดยประการที่การพิพาทระหว่างรัฐกับราษฎรมีลักษณะพิเศษดังกล่าว หลักกฎหมายที่จะนำมาใช้ปรับคดี เพื่อความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ก็ควรจะต้องเป็นหลักกฎหมายพิเศษ เช่นกัน และหลักกฎหมายดังกล่าวนี้ ศาลปกครองเท่านั้น จะสร้างขึ้นมาได้
         
          ศาลปกครอง จะทำหน้าที่ประสานประโยชน์ระหว่างรัฐกับราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎร และพิทักษ์อำนาจรัฐ มิให้อำนาจรัฐทำลายเสรีภาพของราษฎร และเสรีภาพของราษฎรทำลายอำนาจรัฐ ศาลปกครองจะทำให้ทั้งสองอย่างเข้ากันได้ โดยรักษาประโยชน์ ของส่วนรวมไว้ได้ และขณะเดียวกัน ก็ให้ความยุติธรรมแก่ราษฎร
          แนวความคิดทางการเมืองและการปกครองปัจจุบันที่น่าสนใจคือ การที่ประชาชนมอบอำนาจ ให้รัฐบาลจัดการปกครองประเทศเพื่อความผาสุกของตนแล้ว ใครจะเป็นผู้คอยควบคุมดูแลหรือปกครองรัฐบาลอีกทีหนึ่ง จะมีวิธีการอย่างใด และมีขอบเขตแค่ไหนที่ข้าราชการผู้ใช้อำนาจจะถูกควบคุม เพื่อป้องกันมิให้ใช้อำนาจไปในทางผิด ในการปฏิบัติทั่วไป การควบคุมรัฐบาล ในระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีสภาผู้แทนราษฎร และสื่อมวลชนต่างๆ ทำหน้าที่ ควบคุม รัฐบาลอยู่แล้ว แต่ก็กล่าวได้ว่า เป็นการควบคุมที่ห่างเหินเกินไป หลายประเทศได้คิดค้นกลไกควบคุมฝ่ายบริหาร ขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งแต่ละประเทศก็มีวิธีปฏิบัติแตกต่างกันไป อาจจะสรุปได้เป็นแบบใหญ่ๆ ได้ 4 วิธีคือ
1. แบบฝรั่งเศส ซึ่งมีกลไกควบคุมฝ่ายปกครองโดยศาลปกครอง
2. จัดให้มีศาลปกครองพิเศษเป็นแผนกหนึ่งของศาลยุติธรรม ดังที่ปฏิบัติอยู่ในสหพันธรัฐเยอรมัน
3. วิธีพิจารณาคดีพิเศษ เฉพาะข้าราชการบางประเภทที่ใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ เช่น การฟ้องร้องประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี และข้าราชการพลเรือนอื่นๆ ต่อสภาสูง (Senate) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกว่า “Impeachment”
4. จัดให้มีผู้ตรวจการหรือออมบุดส์แมน (Ombudsman) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่รัฐสภาแต่งตั้ง ให้มีอำนาจหน้าที่ รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนผู้เห็นว่าสิทธิของตนถูกละเมิด โดยการกระทำของฝ่ายปกครอง อาจเป็นการกระทำนอกเหนือกฎหมาย หรือการใช้ดุลพินิจอันไม่สมควร ดังที่ปฏิบัติอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ ฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์คและประเทศไทย เป็นต้น
          ประเทศในภาคพื้นยุโรปหลายประเทศ มีศาลปกครองทำหน้าที่พิจารณาคดีอันเป็นกรณีพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชน องค์การของรัฐด้วยกันเองและข้าราชการกับประชาชน ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ศาลปกครองดังกล่าวนี้ จะถือหลักว่าด้วยความถูกต้องในการใช้อำนาจของรัฐและหลักการว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ
          หลักว่าด้วยความถูกต้องในการใช้อำนาจของรัฐ หมายความว่า อำนาจรัฐที่มีอยู่จะต้องใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือศาลปกครอง เป็นผู้ควบคุมการใช้อำนาจของรัฐ ส่วน หลักการว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ มีสาระสำคัญว่า อำนาจของรัฐต้องใช้อย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งหมายถึงการกระทำใด ๆ ของรัฐ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน รัฐจะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรืองดเว้นปฏิบัติ เพื่อมิให้ความเสียหายเกิดขึ้น
          การจัดตั้งศาลปกครองที่ประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติอยู่ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ระบบ
ระบบแรก ให้ศาลปกครองขึ้นต่อศาลยุติธรรม แต่ระบบศาลปกครองที่ขึ้นกับศาลยุติธรรม มีจุดอ่อนอยู่ที่ว่า หลักกฎหมายที่ใช้ในศาลปกครอง และศาลยุติธรรมมีข้อแตกต่างกัน หรือจะทำให้เหมือนกันได้ยาก ในทางปฏิบัติ จึงมักจะเกิดความสับสน เมื่อมีการอุทธรณ์ ฎีกาจากศาลปกครองไปสู่ศาลยุติธรรม เพราะศาลปกครองจะใช้หลักกฎหมายอย่างหนึ่ง ศาลยุติธรรมจะใช้หลักกฎหมายอีกอย่างหนึ่ง
ระบบที่สอง โดยการแยกศาลปกครอง ออกเป็นศาลหนึ่งต่างหาก มีองค์การและเจ้าหน้าที่ของตนเอง ไม่ขึ้นต่อศาลยุติธรรม การจำแนกระบบศาลปกครองดังระบบที่สอง ยกตัวอย่างเช่นประเทศไทยเป็นต้น
          ประเทศที่แยกศาลปกครองและศาลยุติธรรมออกจากกัน หรือใช้ระบบศาลคู่ คือ แยกศาล ออกเป็นสองสาย ในแต่ละสายมีศาลสูงสุดของตัวเอง ศาลทั้งสองต่างเป็นอิสระต่อกัน และต่างมีหน้าที่ ของตน อย่างไรก็ดี ระบบที่แยกศาลออกเป็นสองสายนี้ ก็มีปัญหายุ่งยากอยู่บ้าง กล่าวคือ เกิดความขัดแย้งกันใน 3 รูป ได้แก่ (1) การขัดแย้งกันในอำนาจศาล (2) การขัดแย้งกันในเรื่องของการปฏิเสธ ให้ความยุติธรรม ทั้งนี้ โดยที่แต่ละศาลวินิจฉัยว่าตนไม่มีอำนาจพิจารณาคดี และ (3) การขัดแย้งกัน ในการตัดสินของศาล กรณีเช่นนี้ อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อศาลยุติธรรมและศาลปกครอง พิจารณาคดีเดียวกัน แต่การตัดสินของศาลขัดกัน เช่น นาย ก. อาศัยรถยนต์ส่วนตัว ของนาย ข. ไปทำธุรกิจ รถคันที่นาย ก. นั่งไป เกิดชนกับรถของทางราชการ และได้รับบาดเจ็บสาหัส ประการแรก นาย ก. อาจจะฟ้องคนขับรถ ที่ตนนั่งไป ต่อศาลยุติธรรม ซึ่งศาลยุติธรรม อาจจะวินิจฉัยว่า ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบนั้น คือคนขับรถราชการ และแนะนำให้ไปฟ้องศาลปกครอง นาย ก. ไม่รู้จะไปฟ้อง ณ ศาลใด อย่างไรก็ดี ในฝรั่งเศสซึ่งเป็นแบบฉบับของการใช้ระบบศาลคู่ ได้แก้ปัญหาขัดแย้งนี้ โดยการจัดตั้งศาลปกครองพิเศษขึ้น เรียกว่า “Tribunal des Conflite” หรือศาลพิจารณาการขัดแย้ง ประกอบด้วย ผู้พิพากษา ของศาลยุติธรรมสูงสุด และศาลปกครองสูงสุด แต่ละฝ่ายจำนวนเท่ากัน ศาลนี้จะทำหน้าที่วินิจฉัยว่า ศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง มีเขตอำนาจหน้าที่เหนือคดี และศาลนี้จะต้องตัดสินคดีเอง หากศาลยุติธรรม และศาลปกครอง ตัดสินชี้ขาดขัดแย้งกัน

ศาลทหาร (Military Court)
          ได้มีขึ้นเป็นของคู่กันมาตั้งแต่มีการทหารไว้ป้องกันประเทศ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบบศาลทหารไทยปรากฏตามกฎหมายลักษณะขบฎศึก จุลศักราช 796 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 มีศาลกลาโหม ชำระความที่เกี่ยวกับทหารและยังชำระความพลเรือนด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากสมุหพระกลาโหมนั้นมิได้มีเพียงอำนาจหน้าที่เฉพาะการบังคับบัญชาทหารบก ทหารเรือ เท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่จัดการปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย ศาลที่ขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมมีทั้งศาลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพ และศาลในหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย ศาลกลาโหมจึงมีลักษณะเป็นทั้งศาลทหารและศาลพลเรือน
          พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ปรับปรุงในเรื่องการศาลทั้งหมด โดยให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น และรวบรวมศาลซึ่งกระจัดกระจายสังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ เข้ามาสังกัดกระทรวงยุติธรรมจนหมดสิ้นทุกศาล ยกเว้นแต่เพียงศาลทหารเพียงศาลเดียวที่ยังคงให้สังกัดกระทรวงกลาโหมอยู่ตามเดิม ศาลในประเทศไทยจึงแบ่งได้เป็นศาลกระทรวงยุติธรรมกับศาลทหารนับแต่นั้นมา
ศาลทหารสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ


  1. ศาลทหารในเวลาปกติ
  2. ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ
  3. ศาลอาญาศึก

คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร


          ศาลทหาร มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดอาญาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด สั่งลงโทษบุคคลใดๆ ที่กระทำผิดฐาน ละเมิดอำนาจศาล นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีอำนาจในการพิจารณาคดีอย่างอื่นได้อีกตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติเพิ่มเติม ที่เคยมีมาแล้วเช่น ความผิดฐานกระทำการอันเป็นคอมมูนิตส์ เป็นต้น สำหรับอำนาจในการรับฟ้องคดีของศาลทหารแบ่งได้ดังนี้ ศาลจังหวัดทหารจะรับฟ้องคดีที่จำเลยมีชั้นยศเป็นนายทหารประทวน ศาลมณฑลทหารจะรับฟ้องคดีที่จำเลยมีชั้นยศตั้งแต่ชั้นประทวนจนถึงชั้นยศสัญญาบัตรแต่ไม่เกินพันเอก ส่วนศาลทหารกรุงเทพจะรับฟ้องได้หมดทุกชั้นยศ นอกจากนี้ชั้นยศจำเลยมีผลต่อการแต่งตั้งองค์คณะตุลาการที่จะพิจารณาคดีด้วย โดยองค์คณะตุลาการที่จะแต่งตั้งนั้นอย่างน้อยต้องมีผู้ที่มียศเท่ากันหรือสูงกว่าจำเลย

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร


          แยกเป็น 4 ประเภท คือ


  • ประเภทแรก ได้แก่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
  • ประเภทที่สอง ได้แก่คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
  • ประเภทที่สาม ได้แก่คดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากอายุของผู้กระทำความผิด ซึ่งคงจะมีแต่เฉพาะนักเรียนทหาร
  • ประเภทที่สี่ ได้แก่คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คดีประเภทนี้คงจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ ประการแรก คือ ได้มีการฟ้องคดียังศาลทหารแล้ว ประการที่สอง คือ เป็นคดีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในสามประเภทแรก

บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร


  • กลุ่มแรก ได้แก่ ทหาร แยกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. ทหารประจำการได้แก่ ทหารที่ยึดเอาการรับราชการทหารเป็นอาชีพ ซึ่งมีทั้งทหารประจำการชั้นสัญญาบัตร ชั้นประทวน และทหารที่ไม่มียศที่เรียกกันว่า พลทหารอาสาสมัคร
  2. ทหารกองประจำการ คือ ทหารเกณฑ์ หรือทหารที่สมัครเข้ากองประจำการเพราะกฎหมายบังคับให้ต้องเป็นทหาร
  • กลุ่มที่สอง ได้แก่ นักเรียนทหาร หมายถึง นักเรียนทหารที่กำหนดขึ้นโดยกระทรวงกลาโหม เช่น นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ นักเรียนเตรียมทหาร นักศึกษาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า นักเรียนทหารดังกล่าวหากมีอายุอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องดำเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัว หากพ้นเกณฑ์อายุก็จะต้องถูกดำเนินคดีในศาลทหาร
  • กลุ่มที่สาม คือบุคคลที่มิได้เป็นทหาร จำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. บุคคลที่เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือน เป็นลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหม เมื่อกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการโดยมาจำกัดพื้นที่ หรือความผิดอาญาอื่นโดยจำกัดพื้นที่เฉพาะในบริเวณที่ตั้งหน่วยทหาร
  2. บุคคลที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น พยานที่ถูกศาลทหารออกหมายจับมาเพื่อเบิกความ
  3. บุคคลที่เป็นเชลยศึกหรือชนชาติศัตรูในช่วงเวลาที่มีศึกสงคราม

การแต่งตั้งตุลาการ


  • ตุลาการศาลทหารสูงสุด และตุลาการศาลทหารกลาง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งและถอดถอน
  • ตุลาการศาลทหารชั้นต้น และศาลประจำหน่วยทหาร พระมหากษัตริย์ทรงมอบพระราชอำนาจแก่ผู้บังคับบัญชาทหาร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน
  • ตุลาการในศาลทหารชั้นต้น ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาจังหวัดทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลจังหวัดทหาร ผู้มีอำนาจบังคับบัญชามณฑลทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลมณฑลทหาร ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลประจำหน่วยทหารและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกรุงเทพ
 ที่มาวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

6 m


1.องค์ประกอบแบบ 6 M คือ Man, Money, Material, Machine, Management, และ Morale ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.1 Man หมายถึง บุคลากร คือ ผู้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับระบบงาน หรือหมายถึง คนทุกคนที่เกี่ยวข้องกับระบบนั้นเอง อาจจะประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับต่างๆ ซึ่งจะมีทั้งผู้บริหาร ระดับสูง ระดับกลาง และระดับปฏิบัติงาน และอาจประกอบด้วยนักวิชาการในระดับต่างๆ แต่จะนับรวมลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญไม่น้อยของระบบด้วยหรือไม่ก็ย่อมสุดแล้วแต่นักวิชาการทางด้านบริหารระบบจะตัดสินใจ
1.2 Money หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีค่าเป็นเงินของระบบ ซึ่งนับเป็นหัวใจที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบ เช่น เงินทุน เงินสด เงินหมุนเวียน เงินคาใช้จ่าย หรือ เงินรายรับ รายจ่ายต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้น ถ้าการเงินของระบบไม่ดีพอแล้ว ระบบนั้นย่อมจะประสบกับความยุ่งยากหรืออาจถึงแก่การหายนะได้ เพราะฉะนั้น ระบบธุรกิจทุกชนิดจะต้องมีความระมัดระวังในเรื่องของการเงินเป็นพิเศษ
1.3 Material หมายถึง ตัวสินค้าหรือวัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้า ซึ่งเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญของระบบไม่น้อย ปัญหาในเรื่อง Material หรือสินค้าและวัสดุนี้มี 2 ประการใหญ่ๆ
1.3.1 ประการแรก เป็นการขาดแคลนวัสดุ เช่น การขาดวัตถุดิบสำหับใช้ในการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อขาดวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ก็จะทำให้ไม่มีสินค้าสำหรับขาย ผลก็ คือการขาดทุน
1.3.2 ประการที่สอง คือ การมีวัตถุดิบมากเกินความต้องการ เช่น มีสินค้าที่จำหน่ายหรือขายไม่ออกมากเกินไป ทำให้เงินทุนไปจมอยู่กับวัตถุดิบทำให้เกิดการขาดทุนเช่นเดียวกันนั้นเอง
1.4 Machine หมายถึง เครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในโรงงานหรือในสำนักงาน ซึ่งนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สร้างปัญหาให้กับระบบอย่างสำคัญประการหนึ่งเหมือนกัน ปัญหาที่ทำให้ได้กำไรหรือขาดทุนมากที่สุดของธุรกิจมักเกิดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์การทำงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น เครื่องมีกำลังผลิตไม่พอ เครื่องเก่า หรือเป็นเครื่องที่ล่าสมัยทำให้ต้องเสียค่าซ่อมบำรุงสูง มีกำลังผลิตน้อยประสิทธิภาพ ในการทำงานต่ำ แต่ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงหรือค่าทำงานที่ล่าช้า ทำงานไม่ทันกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ ทำให้เกิดความเสียหายและขาดรายได้หรือขาดทุน เป็นต้น
1.5 Management หมายถึง การบริหารระบบ ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ระบบเกิดปัญหา เพราะการบริหารที่ไม่ดีหรือการบริหารที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของสภาวะแวดล้อมหรือไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ที่เรียกกันว่า ไม่เป็นไปตามโลกานุวัตร หรือการได้ผู้บริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพมาบริหารงาน ซึ่งส่วนมากมักเกิดขึ้นในระบบราชการ สำหรับระบบทางธุรกิจของเอกชนจะถือว่า การบริหารงานเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเพราะถ้าการบริหารไม่ดีแล้วธุรกิจนั้นก็ไม่สามารถที่จะอยู่ได้ กิจการต้องล้มเลิกไปในที่สุด
1.6 Morale หมายถึง ขวัญและกำลังใจของบุคคลในระบบ หรือหมายถึง ค่านิยมของคนที่มีต่อระบบหรือต่อองค์กรมากกว่า ซึ่งเป็นค่านิยมของคนในระบบที่มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นค่านิยมของผู้บริโภคหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนให้ระบบอยู่รอด และกระตุ้นจูงใจด้วยวิธีต่างๆ ก็มีจุดมุ่งหมายในสิ่งนี้ระบบที่ขาดค่านิยมหรือขาดความเชื่อมั่นของบุคคล ระบบนั้นก็มักจะอยู่ต่อไปไม่ได้ จะต้องประสบกับความล้มเหลวในที่สุด
2. องค์ประกอบแบบ 4 ส่วน ซึ่ง 4 ส่วนนี้ ประกอบไปด้วย Input, Processing, Output และ Feedback
2.1 Input หมายถึง ข้อมูลหรือระบบข้อมูลที่ใช้เข้าสู่ระบบ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ในสารสนเทศเพื่อการบริหาร หรือเพื่อการตัดสินใจ ข้อมูลดังกล่าวมีอยู่ในหลายลักษณะด้วยกัน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น
2.2 Processing หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจจะแบ่งได้เป็น
2.2.1 การปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
2.2.2 การควบคุมการปฏิบัติงาน
2.2.3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน
2.2.4 การรวบรวมข้อมูล
2.2.5 การตรวจสอบข้อมูล
2.2.6 การ Update ข้อมูล
2.2.7 การประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้ Output
2.3 Output หมายถึง ผลการปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น
2.3.1 ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงาน
2.3.2 ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล
2.3.3 ใบรายงานต่างๆ จากการปฏิบัติงาน
2.3.4 ใบบันทึกการปฏิบัติงาน
2.3.5 การทำทะเบียนและบัญชีต่างๆ เป็นต้น
2.4 Feedback หมายถึง ข้อมูลย้อนกลับ หรือผลสะท้อนที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน เช่น ความนิยมในผลงานที่ได้ปฏิบัติ ความเจริญหรือความเสื่อมของธุรกิจ เป็นต้น