วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

ระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์

               โลกาภิวัตน์  (Globalization )  คำที่พวกเราทุกคนคุ้นเคย แต่จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจความหมายจริง ๆ ของคำสั้น ๆ คำนี้ โลกาภิวัตน์  ซึ่งหมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกยุคใหม่ที่ตั้งอยู่บนฐานของเทคโนโลยี  อันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่เร่งเร็วขึ้นในทุกระดับของสังคมมนุษย์ แต่เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในแวดวงวิชาการและสื่อสารมวลชน ยังครอบคลุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐศาสตร์ วัฒนธรรมและเทคโนโลยีการสื่อสาร  รวมทั้งยังมีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อของคนจำนวนมากในยุคสมัยใหม่ ซึ่งจะเป็นลักษณะของปรากฏการณ์ที่หลอมรวมความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นในทุกมุมส่วนของโลก ให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและใกล้ชิดกันมากขึ้นตามแบบอย่างโลกตะวันตก

      จากความหมายของโลกาภิวัตน์ในมุมมองของผู้เขียน ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงประสานใน ด้านด้วยกันคือ
              
1.  กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานกันทางเศรษฐกิจระหว่างนานาประเทศ คือส่งผลให้มีการไหลเวียนของสินค้า บริการ เงินทุน ผู้คน และทรัพยากรที่ข้ามพ้นกำแพงรัฐชาติ การปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงกันจนเป็นอาณาบริเวณที่กว้างขวาง โดยโลกเศรษฐกิจจะไม่มีพรมแดนในลักษณะที่สอดคล้องกับการแบ่งเขตเกี่ยวข้องกับดินแดนหรืออาณาเขต  
2.  กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานทางแนวความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ อาทิ ความเป็นประชาธิปไตย (Democratization หรือ กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย) สิทธิมนุษยชน (Human right) การจัดการปกครองที่ดี (Good Governance) การค้าเสรี (Free Trade)ตลอดจน วัฒนธรรมความทันสมัยแบบตะวันตก เป็นต้น ในฐานะอุดมการณ์หลักแห่งยุคสมัยที่ถูกแผ่ขยายไปทั่วโลก ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปเรียกกันอย่างเต็มปากเต็มคำว่า ยุคโลกาภิวัตน์โดยคิดและอุดมการณ์เหล่านี้ มีผลอย่างมากต่อการจัดการปกครองทางการเมือง และสังคมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน
3.  กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานโลกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่สามารถรายงานข่าวสาร สาระจากพื้นที่หนึ่งของโลก ให้กระจายไปทั่วโลกได้ทันที่ ผ่าน CNN, BBC อินเตอร์เน็ตที่ถ่ายทอดความคิด ความเชื่อผ่านทางเว็บไซด์ต่าง ๆ ร่วมถึงการเผยแพร่วัฒนธรรมสื่อ เช่น ในรูปแบบภาพยนตร์ผ่าน Hollywood ในรูปแบบแฟชั่น ดนตรีเพลงผ่าน โทรทัศน์ช่อง MTV เป็นต้น 
กระแสโลกาภิวัตน์ถูกมองทั้งเป็นโลกของโอกาสและโลกของความเลวร้ายไม่ว่าจะมองอย่างไร กระแสโลกาภิวัตน์นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นกระบวนการที่เกิดแล้วจะไม่มีการหวนกลับกระแสโลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่เร่งทำให้เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจภายในประเทศหล่อหลอมเข้าเป็นหนึ่งเดียวไปสู่การเป็น หนึ่งโลก หนึ่งระบบการค้า  หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในกลุ่มสังคมนิยมปฏิเสธระบบทุนนิยมในทางหลักการ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ปฏิเสธมันในทางปฏิบัติ ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 ความแนบแน่นทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเริ่มมีมากขึ้น แต่รัฐบาลของแต่ละประเทศดังกล่าวก็ยังคงมีมาตรการควบคุมการเคลื่อนไหลของสินค้าและบริการ ทุนและการเคลื่อนย้ายของคน จวบจนช่วงต้นทศวรรษ 1990 ที่ประเทศกำลังพัฒนาเริ่มมีนโยบายเปิดกว้างกับโลกภายนอก พร้อมๆ กับการที่ประเทศในกลุ่มสังคมนิยมเริ่มละทิ้งระบบการวางแผนจากส่วนกลางหันมาใช้ระบบทุนนิยมตลาดมากขึ้น อีกทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ ลง กระทั่งปัจจุบันได้เข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ถือว่าเป็นการเปลี่ยนยุคของโลกาภิวัตน์ครั้งยิ่งใหญ่ อันเนื่องมาจากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน การเคลื่อนไหวของทุนอย่างเสรี ตลอดจนถึงเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเตอร์เน็ตก่อให้เกิด ปัจเจกภิวัตน์ (Globalization of People) ผู้คนในภูมิภาคต่าง ๆ มีโอกาสที่จะแข่งขัน พร้อมๆ กับร่วมมือกันทั้งใน Physical และ Virtual Spaces ซึ่งตรงนี้ทำให้เกิดพลวัตการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งรูปแบบของระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้

ความหมายของ ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ  หมายถึง การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดว่าผลิตอะไร ผลิตอย่างไร จำนวนมากน้อยเท่าใด เมื่อผลิตแล้วจะจำหน่ายแจกจ่ายให้แก่ใครจึงจะเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งการจัดหน่วยเศรษฐกิจแบบนี้ เป็นการจัดการหน้าที่ของหน่วยเศรษฐกิจนั้น ๆ  หน่วยเศรษฐกิจแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
                1.  หน่วยครัวเรือน หมายถึง สมาชิกทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกันมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของครอบครัวในด้านการผลิต การบริโภค และการบริการ
                2.  หน่วยธุรกิจ หมายถึง บริษัท ห้างร้าน โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตและกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค
                3.  หน่วยรัฐบาล หมายถึง หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ทำเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐบาลและประชาชน
 รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ
                ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในโลกจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครอง ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนแนวคิดในการบริหารเศรษฐกิจของผู้บริหารในแต่ละประเทศ ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกสามารถแบ่งออกเป็น 4ระบบใหญ่ ๆ ดังนี้
1.  ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม (Laissez-Faire or Capitalism)
ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่ภาคเอกชนใน การเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เศรษฐทรัพย์ต่าง ๆ ที่ตนหามาได้ มีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการเลือกอุปโภคบริโภคสินค้า และบริการต่าง ๆ แต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย กล่าวคือ การดำเนินการใด ๆ จะต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของบุคคลอื่น ใช้ระบบของการแข่งขันโดยมีราคาและระบบตลาดเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากร โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะมีหน้าที่เพียงการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและการป้องกันประเทศ
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.  เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามที่ตนถนัด
2.  กำไรและการมีระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ เอกชนจะทำงานอย่างเต็มที่ เนื่องจากผลิตได้มากน้อยเท่าไรก็จะได้รับผล ตอบแทนหรือรายได้ไปเท่านั้น ภายใต้ระบบเศรษฐกิจระบบนี้จะมีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์หรือเทคนิคใหม่ ๆ อยู่เสมอ ทำให้เกิดการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.  ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเนื่องจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐาน ทำให้ความสามารถในการหารายได้ไม่เท่ากัน ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่าในทางเศรษฐกิจ
2.  ในหลาย ๆ กรณี ราคาหรือกลไกตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น สินค้าและบริการที่มีลักษณะของการผูกขาดโดยธรรมชาติหรือสินค้าและบริการสาธารณะ ซึ่งได้แก่ บริการด้านสาธารณูปโภค (น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ฯลฯ) โครงสร้างพื้นฐาน (ถนน เขื่อน สะพาน ฯลฯ) จะเห็นได้ว่าสินค้าและบริการดังกล่าวส่วนใหญ่จะต้องใช้เงินลงทุนมาก เทคโนโลยีที่ทันสมัย เสี่ยงกับภาวะการขาดทุน เนื่องจากมีระยะการคืนทุนนาน ไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ทำให้เอกชนไม่ค่อยกล้าลงทุนที่จะผลิต ส่งผลให้รัฐบาลต้องเข้ามาดำเนินการแทน อันเนื่องจากสินค้าและบริการเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ประชาชนต้องการ จะเห็นได้ว่ากรณีดังกล่าวราคาไม่สามารถเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรได้
3.  การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่าง สิ้นเปลือง เช่น ในบางช่วงที่มีการแข่งขันกันสร้างศูนย์การค้าเพราะคิดว่าเป็นกิจการที่ให้ผลตอบแทนหรือกำไรดี ศูนย์การค้าเหล่านี้เมื่อสร้างขึ้นมามากเกินไปก็อาจไม่มีผู้ซื้อมากพอ ทำให้ประสบกับการขาดทุน กิจการต้องล้มเลิก เสียทุนที่ใช้ไปในกิจการนั้น เป็นการสูญเสียทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปอย่างเปล่าประโยชน์และไม่คุ้มค่า เป็นต้น

2.  ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ ปัจจัยการผลิตได้ รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ หน่วยธุรกิจและครัวเรือน จะผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจว่า ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ควรจะนำมาผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร การตัดสินใจ มักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับจากส่วนกลาง (central planning) โดยคำนึงถึงสวัสดิการ ของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยสรุประบบเศรษฐกิจแบบนี้จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่าง ไว้ที่ส่วนกลาง รัฐบาลจะเป็นผู้วางแผนแต่เพียงผู้เดียว เอกชนมีหน้าที่เพียงแต่ทำตามคำสั่งของทางการ เท่านั้น
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
จุดเด่นของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ก็คือ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและ บริโภคตามคำสั่งของรัฐ ผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาจะถูกนำส่งเข้าส่วนกลาง และรัฐจะเป็นผู้จัดสรรหรือแบ่งปัน สินค้าและบริการดังกล่าวให้ประชาชนแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบ
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.  ประชาชนไม่มีเสรีภาพที่จะผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจ ถูกบังคับหรือสั่งการจากรัฐ
2.  สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงจูงใจ เพราะไม่ว่าจะผลิตสินค้าได้ มากน้อยเพียงใด คุณภาพเป็นอย่างไร ผู้บริโภคก็ไม่มีทางเลือกจะต้องบริโภคตามการปันส่วนที่รัฐจัดให้
3.  การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะมีข่าวสารสมบูรณ์ในทุก ๆ เรื่อง เช่น รัฐไม่รู้ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนทำให้ผลิต สินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการ ส่งผลให้มีสินค้าเหลือ (ไม่เป็นที่ต้องการ) จะเห็นได้ว่าลักษณะดังกล่าว ก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรของประเทศไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นต้น

3.  ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะใกล้เคียงกับระบบเศรษฐกิจ แบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมรัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรการผลิตพื้นฐาน ไว้เกือบทั้งหมด และเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจ กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐาน กิจการหลักที่มี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ เช่น ธุรกิจธนาคาร อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ป่าไม้ น้ำมัน กิจการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการต่าง ๆ ฯลฯ รัฐจะเป็นผู้เข้ามาดำเนินการเอง อย่างไรก็ตาม รัฐยังให้เสรีภาพแก่ประชาชนบ้างพอสมควร เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน เช่น สามารถทำธุรกิจค้าขายขนาดย่อมระหว่างท้องถิ่นใกล้เคียง สามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน เพื่อการยังชีพ โดยสรุป ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่อาศัยกลไกรัฐเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ แต่ทว่ากลไกราคาพอจะมีบทบาทอยู่บ้างในระบบเศรษฐกิจนี้
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีส่วนช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทาง ฐานะและรายได้ของบุคคลเช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ นอกจากนั้น ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนมีเสรีภาพและมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินบ้างพอสมควร
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เนื่องจากปัจจัยการผลิตพื้นฐานอยู่ในการควบคุมของ รัฐบาลทำให้ขาดความคล่องตัว การผลิตถูกจำกัดเพราะต้องผลิตตามที่รัฐกำหนด โอกาสที่จะขยายการผลิตหรือพัฒนาคุณภาพการผลิตเป็นไปค่อนข้างลำบาก ทำให้การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ในลักษณะเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

4.  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)
ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน ในส่วนที่เป็นแบบทุนนิยม คือ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางอย่าง มีเสรีภาพในการเลือกผลิตหรือบริโภค ใช้ระบบของการแข่งขัน กลไกราคาเข้ามาทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ส่วนที่เป็นแบบสังคมนิยม คือ รัฐบาลเข้ามาควบคุมหรือเข้ามาดำเนินกิจการที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น กิจการสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมหลัก และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องมีการลงทุนมากเพราะหาเอกชนลงทุนได้ยาก เนื่องจากเป็นกิจการที่ต้อง เสี่ยงกับการขาดทุนหรือไม่คุ้มกับการลงทุน แต่กิจการเหล่านี้จำเป็นต้องมีเพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีพ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา การขนส่ง และคมนาคม เหตุที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินการในกิจการดังกล่าวก็เพื่อขจัดปัญหาในเรื่องการผูกขาดหรือเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นถ้าปล่อยให้เอกชนทำการแข่งขัน โดยสรุปแล้วระบบเศรษฐกิจแบบผสมจึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้ทั้งระบบกลไกราคา หรือระบบตลาดควบคู่ไปกับระบบกลไกรัฐในการจัดสรรทรัพยากร
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว กล่าวคือ มีการใช้กลไกรัฐร่วมกับกลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากรของระบบ กิจการใดที่กลไกราคาสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐก็จะปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ (ใช้ระบบของการแข่งขัน) แต่ถ้ากิจการใดที่กลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐก็จะเข้ามาดำเนินการแทน จะเห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสาน กล่าวคือ รวมข้อดีของทั้งระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.  การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอาจก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะ และรายได้เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
2.  การที่รัฐสามารถเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิดปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำให้เกิดการบิดเบือน การใช้ทรัพยากรของระบบ เศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
3.  ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมือง และนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและแปรเปลี่ยนได้ง่าย อาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการหยุดชะงัก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง
               
                โลกาภิวัตน์  (Globalization )  ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศหรือเป็นการค้าภายในประเทศ  ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การครอบงำของ Globalization  จึงต้องทำความเข้าใจว่าโลกาภิวัตน์คืออะไร และบทบาทตัวตนที่แท้จริง ซึ่งฝังอยู่ภายในนั้นจะเป็นอย่างไร ผู้เขียนมีรายละเอียดแบบย่อ ๆ ที่ระบบเศรษฐกิจจะเกี่ยวข้องในกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนี้

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์
                1.  ทุน Capital เศรษฐกิจโลกจะต้องเป็นไปตามลัทธิทุนนิยม (Capitalism) ภายใต้การแข่งขันในลักษณะเสรีนิยม (Liberalism) ซึ่งเป็นลักษณะเศรษฐกิจของโลกตะวันตกที่มีเนื้อหาเน้นการสะสมทุนและการค้าเสรี โดยต่างก็จะให้มีการเปิดการค้าระหว่างประเทศให้เป็นการค้าที่ไร้พรมแดนแต่ภายใต้การค้าเสรีนี้ ความได้เปรียบของบริษัทข้ามชาติ ก็จะมีมากกว่าจึงเป็นความเสรีที่ไม่เท่าเทียมกัน ทุนจะมีการเคลื่อนย้ายไปยังประเทศต่าง ๆ ของโลกที่ให้เงื่อนไขและผลประโยชน์ที่ได้กำไรสูงสุด
                2.  การครอบงำผ่านทางข้อมูล-ข่าวสาร (Dominant) การปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการเชื่อมโยงสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว โลกถูกเชื่อมด้วยข้อมูลข่าวสารและมักเป็นข้อมูลข่าวสารฝ่ายเดียวจากโลกตะวันตก หรือจากประเทศซึ่งมีอำนาจเศรษฐกิจและการทหารที่เหนือกว่า โดยการครอบงำและสร้างกระแสข่าวตามที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเมืองและเศรษฐกิจของตะวันตก เป็นการครอบงำทางข่าวสาร และวัฒนธรรมซึ่งมีผลต่อความเชื่อของมนุษยชาติในการที่จะต้องบริโภคข่าวสาร การบริโภคสินค้า ,บริการ และวัฒนธรรมของตะวันตกนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
                3.  ค่านิยม (Value) โลกาภิวัตน์ ได้สร้างค่านิยมผ่านทางข้อมูลข่าวสาร โดยแบ่งออกเป็น ลักษณะ 
ü ค่านิยมทางการเมือง ทุกประเทศในโลกต้องเป็นแนวประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งประเทศต่าง ๆ หากจะต้องมีรูปแบบการเมืองการปกครองในแบบเดียวกัน มิฉะนั้นก็จะถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ หรือใช้กำลังทหารเข้าไปปลดปล่อยให้เป็นประชาธิปไตย โดยไม่สนใจต่อความพร้อมหรือวิถีชีวิตของคนในประเทศเหล่านั้น ซึ่งการเมืองในระบบประชาธิปไตย เมื่อถูกผ่านการครอบงำผ่านทางข้อมูลข่าวสารจากโลกตะวันตก ก็จะทำให้ประชาชนมีค่านิยมที่จะเลือกผู้นำที่มีแนวความคิดแบบการค้าเสรีหรือเป็นนายทุนเศรษฐกิจแบบตะวันตกไปเป็นรัฐบาล ซึ่งก็จะมีการแก้ไขกฎเกณฑ์ กฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทข้ามชาติสามารถเข้าไปแข่งขันกับธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งมีความอ่อนแอกว่า ซึ่งจะมีผลต่อจะต้องมีการพึ่งพาโลกตะวันตก
ü ค่านิยมทางเศรษฐกิจ โลกจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Labour) โดยถือหลักการว่าที่ไหนถูกก็ผลิตหรือซื้อที่นั่น โดยต่างฝ่ายจะใช้มาตรการทางภาษีให้มีน้อยที่สุด โดยโลกตะวันตกก็จะมีการปกป้องธุรกิจที่ไม่สามารถแข่งขันกันได้ในรูปแบบของการกีดกันทางการค้า ในแบบที่เรียกว่า NTB (Non Tariff Barrier) การค้าของโลกจะตกอยู่ภายใต้กติกา WTO (World Trade Organization) ที่โลกตะวันตกไม่กี่ประเทศเป็นผู้บงการ และข้อตกลงในลักษณะที่เป็นทวิภาคี ได้แก่ ที่มาในรูปแบบของ FTA ซึ่งหาก WTO ไม่สามารถเอื้อประโยชน์ก็จะมีการทำข้อตกลงความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่น ASEAN , NAFTA , APEC เป็นต้น ต้องเข้าใจว่าการค้าเสรีของ Globalization นั้นเป็นความเสรีบนความไม่เท่าเทียมกัน จึงไม่ใช่ความยุติธรรมทางการค้า
ü ค่านิยมทางสังคม โดยการครอบงำทางสังคมวัฒนธรรม โดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร ทำให้การค้าของโลกจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน (Human Right) การบริโภคนิยม (Consumerism) การนิยมวัตถุ (Materialism) รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งจะอนุรักษ์เฉพาะในสิ่งที่ประเทศด้อยพัฒนาไม่พร้อม แต่โลกตะวันตกพร้อมค่านิยมการปกป้องทางการค้า(Protectinism) การค้าโลกาภิวัตน์ จะทำมาพร้อมกับการปกป้องทางการค้าในรูปแบบของลิขสิทธิ์ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของลิขสิทธิ์ก็จะมาจากโลกตะวันตก ซึ่งจะใช้ลิขสิทธิเป็นเครื่องมือในการปกป้องสินค้าและบริการ นอกเหนือจากนี้การใช้มาตรการทางด้านการเงิน ผ่านกองทุนต่าง ๆ เช่น IMF , ADB Bank

ในปัจจุบันนี้เศรษฐกิจโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อย่างเต็มที่โดยจะเห็นได้จากการที่มีการเพิ่มขึ้นของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก จากการที่มีการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศให้ลดน้อยลงไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรหรือการยกเลิกมาตรการโควตาการนำเข้าต่าง ๆ ตามกฎขององค์การการค้าโลก ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ดูแลเรื่องการจัดการการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างเสรี  และให้ความเท่าเทียมกันแก่ประเทศสมาชิกทุกประเทศ  อีกทั้งเทคโนโลยีในการขนส่งได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะทางบก ทางอากาศ หรือทางน้ำ ทำให้สามรถประหยัดเวลาและต้นทุนทั้งในด้านการขนส่งสินค้าและทางด้านการเดินทางระหว่างประเทศ การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ ข้ามพรมแดนประเทศได้อย่างสะดวกใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที ทำให้การเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ใหม่ ๆ สามารถทำได้ง่ายมากขึ้นกว่าในอดีต  ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร โดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ทในปัจจุบัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในยุคโลกาภิวัฒน์นี้โลกเสมือนได้ย่อขนาดของตัวเองให้เล็กลงจากการที่มนุษย์สามารถเดินทางหรือติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูล และทำการค้าระหว่างกันจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้อย่างง่าย การก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒนย่อมมีผลกระทบที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนี้

ผลกระทบที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์
                1.  ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของประชากร  (The New Demographics) ประชากรของโลกจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตเมืองมีแนวโน้มประชากรโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้างและพฤติกรรม โดยประชากรสูงอายุ (มากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประชากรวัยหนุ่มสาว (Young Generation) จะมีสัดส่วนลดลง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราการเกิดของประเทศพัฒนาแล้วตํ่าลง ประกอบกับคนจะมีสุขภาพดีและอายุยืนมากขึ้น นอกจากนั้น ค่านิยม และพฤติกรรมของประชากรจะเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากจนยากที่จะคาดเดา การเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากรทั้งหมดดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ คือ
                          1.1 การสิ้นสุดของตลาดเดียว (The End of Single Market) เดิมตลาดของประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีลักษณะ Homogeneous โดยมีกลุ่มวัยรุ่นเป็นผู้ครอบครองตลาดส่วนใหญ่ แต่ต่อไปในอนาคต ตลาดจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน คือ
                                (1) ตลาดของผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำ วันทดแทนความเสื่อมประสิทธิภาพของร่างกาย การให้บริการเพื่อความบันเทิง เช่น การท่องเที่ยว เป็นต้น
                                (2) ตลาดของกลุ่มวัยรุ่น ผลิตภัณฑ์และบริการส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อความสะดวกและรวดเร็วในการใช้ชีวิตประจำ วัน ความฟุ่มเฟือยในรูปแบบต่าง ๆ แม้กระทั่งการศึกษาซึ่งจะมีรูปแบบที่เป็น New Luxury Youth Market โดยเฉพาะในตลาดศึกษาต่อเนื่องของผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษาดีอยู่แล้ว ขณะนี้กำ ลังเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด เนื่องจาก ครอบครัวที่มีลูกคนเดียวมักจะลงทุนค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูกสูงมาก ทำ ให้ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาต่อหัวเท่ากับค่าใช้จ่ายการศึกษาในอดีตของเด็ก 4-5 คนรวมกัน ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น Nanotechnology และ Material Technology เป็นต้น รวมทั้ง ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า “Culture Product” ที่มีความเหมือนกันในวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ การบริโภค และผลิตภัณฑ์ เช่น สินค้าจำ พวก Franchise ต่าง ๆ สัญญาณของปรากฎการณ์ดังกล่าวปรากฏให้เห็นแล้วในธุรกิจบริการด้านการเงิน (Financial Services) ที่ขณะนี้การค้าหุ้นในตลาดสินค้าประเภท High Technology ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นของคนอายุน้อยกว่า 45 ปี ส่วนการลงทุนในตลาดกองทุนอื่น (Mutual Fund) ที่เน้นในเรื่องของการลงทุนเพื่อการออม ลูกค้าจะเป็นผู้สูงอายุ
                         1.2 ภาระงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกับประเทศกำลังพัฒนาซึ่งโครงสร้างของประชากรวัยสูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาก จะมีผลต่อค่าใช้จ่ายของรัฐบาลที่จะเพิ่มขึ้นจากเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ เบี้ยบำนาญ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาที่แนวโน้มดังกล่าวก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกันแต่ในอัตราที่ตํ่ากว่า
                         1.3 การเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว(Mobility of Labour) โดยเฉพาะแรงงานฝีมือหรือแรงงานที่มีความรู้ (Skilled Labor/Knowledge Labor)  ซึ่งเป็นที่ต้องการและมีบทบาทมากในระบบเศรษฐกิจ ในทางตรงกันข้าม จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะตํ่าไปยังประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดจำนวนแรงงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวซํ้าเติมให้เกิดความยุ่งเหยิงของโครงสร้างการทำ งานในสังคมที่กำลังพัฒนา โดยการสร้างให้เกิดการจ้างงานที่ขาดเสถียรภาพ งานที่ต้องการความชำนาญหลายอย่างอาจถูกลดระดับลง หรือถูกทดแทนด้วยแรงงานที่ตํ่ากว่าระดับจริง นอกจากนั้น จะก่อให้เกิดปัญหาเมืองใหญ่ (Mega City) ที่ต้องมีการวางแผนการพัฒนาเมืองที่ป้องกันและจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางโครงสร้างพื้นฐาน และทางด้านสิ่งแวดล้อม
                   1.4  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงในค่านิยม และพฤติกรรมของประชากรทำให้ตลาดเปลี่ยนแปลงเร็ว จำเป็นที่ผู้ผลิตจะต้องมีความพร้อมรับกับการปรับเปลี่ยนโดยต้องพร้อมในการที่จะคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ(Innovation) และใช้ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมของประสบการณ์และภูมิปัญญา มารองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

                         2.  การเหลี่อมล้ำของความรู้ (Knowledge Divide) จะเกิดทั้งในระดับระหว่างประเทศและในระดับประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่เท่าเทียมกันของความสามารถและความจริงจังในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา (Education) ข้อมูลข่าวสาร (Information)และการวิจัย (Research) ของประเทศหนึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ และการพัฒนาองค์ความรู้ของคนในประเทศที่มีความแตกต่างกัน ทำให้ประเทศที่มีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องจะเกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในสังคมเศรษฐกิจการเมืองโลกที่อาศัยองค์ความรู้ในการพัฒนามากกว่าปัจจัยทางทรัพยากร (Comparative Advantage) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ในลักษณะคือ
                                1. การศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในระบบและนอกระบบขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) ซึ่งความรู้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกส่วนของภาคการผลิต เพื่อลดต้นทุน เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และเพื่อลดการพึ่งพิงแรงงานที่ขาดแคลน จำ เป็นที่ประชากรในทุกเพศ ทุกวัย ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวโดยเฉพาะประชากรในวัยทำ งานที่ต้องมีความพร้อมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีความต้องการทักษะและฝีมือ
                                2.   การวิจัยและพัฒนาจะมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพที่จะต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ ทันสมัยและกระจายอย่างทั่วถึง

                3.  กำลังการผลิตมากเกิน (Overcapacity) ในสินค้าและบริการ ซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ การเข้ามาใหม่ของประเทศกำ ลังพัฒนา เช่น จีน และเม็กซิโก เป็นต้น การหดตัวของความต้องการ (Demand Contract) การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการเพิ่มขึ้นในความรู้ ความสามารถและทักษะฝีมือแรงงาน ก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ 2 ประการคือ
                                1.  ภาวะ “Global Deflation” ราคาสินค้าส่วนใหญ่ทั่วโลกมีราคาถูกลง โดยเฉพาะสินค้าที่สามารถผลิตได้ในประเทศกำ ลังพัฒนาที่มีค่าแรงงานถูก เช่น ประเทศจีน เป็นต้น การแข่งขันจึงอยู่ในลักษณะของการลดต้นทุนการผลิต โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือการเป็นผู้นำ ในการคิดค้นประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
                                2.  ภาวะ “Growth with Unemployment” อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกจะสูงขึ้น เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1960 และ 1970 อันเนื่องจากแรงกดดันทางการเมือง เพื่อให้มีมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น การมีนโยบายเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การเพิ่มขึ้นในการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ การกระจายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) และภาคเอกชนมีพลวัตร(Dynamic) มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวกลับก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งใน 20 ปีข้างหน้า มีการคาดการณ์ไว้ว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า ในขณะที่การจ้างงานในอุตสาหกรรมจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10-20 ของกำ ลังแรงงานรวม ทั้งนี้ เป็นผลจากการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งการลดบทบาทของภาคอุตสาหกรรมในฐานะผู้สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศจะนำ ไปสู่การรวมพลังของกลุ่มคนมากขึ้น เพื่อให้รัฐเข้ามาปกป้องทางการค้าในรูปแบบใหม่ (The New Protectionism) เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับสินค้าเกษตร แต่ภาวะการว่างงานดังกล่าวจะบรรเทาได้ในระดับหนึ่งจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและอาชีพทางด้านบริการที่มีแนวโน้มเพิ่มความสำคัญขึ้นมากในอนาคต

                4.  มีการพึ่งพาและร่วมมือร่วมใจระหว่างกันมากขึ้น (More Interdependent) ในทุกระดับ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ได้แก่ การขยายตัวขององค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองระดับโลกขนาดใหญ่ เช่น WTO และ IMF เป็นต้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบของขั้วอำนาจจาก Bipolar มาเป็น Multipolar ปัญหาผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ(Terrorism) ซึ่งทำ ให้ประเทศต่าง ๆ ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดมากขึ้น อันนำ ไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการเจรจาต่อรองและการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในระดับทวิภาคี (Bi-lateral) ในระดับภูมิภาค (Regional) และระดับโลกเพื่อสร้างความสมดุลย์ของอำนาจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและภูมิภาคทั้งที่มีอยู่เดิมและที่เกิดขึ้นใหม่ในระดับประเทศ ถึงแม้รัฐจะเข้าไปมีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น แต่ภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำ ไรจะมีบทบาทมากขึ้นทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน จึงต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยแนวโน้มในอนาคตพลเมืองจะยังคงใช้การเมืองนำการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการเมืองจะมีการปรับตัวเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการปรับโครงสร้างของรัฐบาลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้มีความสามารถในการสร้างความร่วมมือ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นในการเคลื่อนไหวของข้อมูล เทคโนโลยีสมัยใหม่ การอพยพ และอิทธิพลของภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

สรุป
                โลกาภิวัตน์ได้เชื่อมโยงหลอมรวมความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของโลกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว และเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีส่วนทำลายพรมแดนระหว่างรัฐที่เป็นอุปสรรคขว้างกั้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างรวดเร็ว โดยมีผลต่อการเศรษฐกิจของโลก ซึ่งระบบเศรษฐกิจในความหมายของผู้เขียน ประกอบด้วย กลุ่มหรือหน่วยเศรษฐกิจ คือ ครัวเรือน ธุรกิจหรือบริษัทและองค์กรรัฐบาล โดยหน่วยต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กัน เราเรียกว่า การหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ การรวมตัวของหน่วยเศรษฐกิจ จะกลายเป็นสถาบันเศรษฐกิจหรือเราเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม  ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจแบบ  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม  ซึ่งในระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์  ได้แก่ ทุน Capital , การครอบงำผ่านทางข้อมูล-ข่าวสาร(Dominant)  และค่านิยม (Value) โลกาภิวัฒน์ ได้สร้างค่านิยมผ่านทางข้อมูลข่าวสาร โดยแบ่งออกเป็น ลักษณะ คือ ค่านิยมทางการเมือง, ค่านิยมทางเศรษฐกิจ  และค่านิยมทางสังคม  ดังนั้นผลกระทบที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ ได้แก่  ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของประชากร  (The New Demographics) ประชากรของโลกจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตเมืองมีแนวโน้มประชากรโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้างและพฤติกรรม โดยประชากรสูงอายุ (มากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประชากรวัยหนุ่มสาว (Young Generation) จะมีสัดส่วนลดลง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว  การเหลี่อมล้ำของความรู้(Knowledge Divide) จะเกิดทั้งในระดับระหว่างประเทศและในระดับประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่เท่าเทียมกันของความสามารถและความจริงจังในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา (Education) ข้อมูลข่าวสาร (Information) และการวิจัย (Research) ของประเทศหนึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ และการพัฒนาองค์ความรู้ของคนในประเทศที่มีความแตกต่างกัน ทำการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในระบบและนอกระบบขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) การวิจัยและพัฒนาจะมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพที่จะต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ ทันสมัยและกระจายอย่างทั่วถึง  กำลังการผลิตมากเกิน(Overcapacity) ในสินค้าและบริการ ซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ การเข้ามาใหม่ของประเทศกำ ลังพัฒนา เช่น จีน และเม็กซิโก เป็นต้น  มีการพึ่งพาและร่วมมือร่วมใจระหว่างกันมากขึ้น (More Interdependent) ในทุกระดับ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ได้แก่ การขยายตัวขององค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองระดับโลกขนาดใหญ่ เช่น WTO และ IMF เป็นต้น ในการสร้างความร่วมมือ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นในการเคลื่อนไหวของข้อมูล เทคโนโลยีสมัยใหม่ การอพยพ และอิทธิพลของภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร 

เอกสารอ้างอิง
คลังปัญญา.โลกาภิวัตน์.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา.http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php.(14 เมษายน 2554).
ห้องร้อยบุปผา.โลกาภิวัตน์ครอบงำสังคมมนุษย์.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา.http://www.baanjomyut.com/cgi-bin/writer3/show.pl?forum=1&topic=0261.(14เมษายน 2554).
วังลัดาวัลย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ชุดที่ 2ตอนที่ โลกาภิวัตน์ คืออะไร.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา.http://www.libsusdev.org/index.php?option=com_docman&task=doc_open&gid=185.(14 เมษายน 2554).
ความเป็นมาของระบบเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ . [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา.planning.excise.go.th/knowledge/global.doc. .(14 เมษายน 2554).
เศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา.http://www.nidambe11.net/ekonomiz/.../article2001feb10p1.htm. .(14 เมษายน2554).
ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร.เศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา. http://www.cicot.or.th/2011/main/content.php?page=news&category=26&id=77. .(14 เมษายน 2554).
ศ.ดร.สุรชัย  ศิริไกร.2552.ระบบสังคมเศรษฐกิจโลก.วิทยาลัยสื่อสารการเมือง สาขาสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.